ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้
1. วิเคราะห์สาเหตุ หรือปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์เพื่อเป็นแนวทางการแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน
Ø เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่อดีต
จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีสาเหตุหรือปัจจัยมาจากหลายด้าน เช่น ปัญหาหรือความต้องการของมนุษย์ความก้าวหน้าของศาสตร์ต่างๆการเปลี่ยนแปลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม
Ø เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะ
วิทยาศาสตร์โดยวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานความรู้ ที่นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีและเทคโนโลยีที่ได้สามารถเป็นเครื่องมือ
ที่ใช้ในการศึกษา ค้นคว้าเพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่
2. ระบุปัญหาหรือความต้องการของชุมชนหรือท้องถิ่น เพื่อพัฒนางานอาชีพ
สรุปกรอบของปัญหา รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา โดยคำนึงถึงความถูกต้องด้านทรัพย์สิน
ทางปัญญา
Ø ปัญหาหรือความต้องการอาจพบได้ในงานอาชีพ
ของชุมชนหรือท้องถิ่น ซึ่งอาจมีหลายด้าน เช่น ด้านการเกษตร อาหาร พลังงาน การขนส่ง
Ø การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาช่วยให้เข้าใจ
เงื่อนไขและกรอบของปัญหาได้ชัดเจน จากนั้นดำเนินการ
สืบค้น รวบรวมข้อมูล ความรู้ จากศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อนำไปสู่การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้
3. ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา โดยวิเคราะห์
เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็นภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่มีอยู่ นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่หลากหลาย วางแผนขั้นตอนการทำงานและดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน
Ø การวิเคราะห์เปรียบเทียบ และตัดสินใจเลือกข้อมูลที่จำเป็น
โดยคำนึงถึงทรัพย์สินทางปัญญาเงื่อนไขและทรัพยากร เช่น งบประมาณ เวลา ข้อมูลและสารสนเทศ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยให้ได้แนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
Ø การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาทำได้
หลากหลายวิธีเช่น การร่างภาพ การเขียนแผนภาพ
การเขียนผังงาน
Ø เทคนิคหรือวิธีการในการนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหา
มีหลากหลาย เช่น การใช้แผนภูมิตาราง ภาพเคลื่อนไหว
Ø การกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาในการทำงาน
ก่อนดำเนินการแก้ปัญหาจะช่วยให้การทำงานสำเร็จได้ตามเป้าหมาย และลดข้อผิดพลาดของการทำงานที่อาจเกิดขึ้น
4. ทดสอบ ประเมินผล วิเคราะห์และให้เหตุผลของปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นภายใต้กรอบเงื่อนไข พร้อมทั้งหา
แนวทางการปรับปรุง แก้ไข และนำเสนอผลการแก้ปัญหา
Ø การทดสอบและประเมินผลเป็นการตรวจสอบ
ชิ้นงานหรือวิธีการว่า สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัตถุประสงค์ภายใต้กรอบของปัญหา เพื่อหาข้อบกพร่อง และดำเนินการปรับปรุง โดยอาจทดสอบซ้ำเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้
Ø การนำเสนอผลงานเป็นการถ่ายทอดแนวคิดเพื่อให้ผู้อื่น
เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการทำงานและชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีเช่น การเขียนรายงาน การทำแผ่นนำเสนอผลงาน การจัดนิทรรศการ การนำเสนอผ่านสื่อออนไลน์
5. ใช้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ กลไก ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องกับลักษณะ
ของงาน และปลอดภัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน
Ø วัสดุแต่ละประเภทมีสมบัติแตกต่างกัน เช่น ไม้
โลหะ พลาสติก เซรามิก จึงต้องมีการวิเคราะห์
สมบัติเพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน
Ø การสร้างชิ้นงานอาจใช้ความรู้เรื่องกลไก ไฟฟ้า
อิเล็กทรอนิกส์เช่น LED LDR มอเตอร์เฟือง คาน รอก ล้อ เพลา
Ø อุปกรณ์และเครื่องมือในการสร้างชิ้นงานหรือพัฒนาวิธีการ
มีหลายประเภท ต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย รวมทั้งรู้จักเก็บรักษา